วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการจัดการความรู้



                 http://www.navy.mi.th/frigate1/index/index.php หลักการจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
       1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
      2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
              http://kmi.or.th หลักการจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ดัง นั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง
          http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php  หลักการจัดการความรู้( Knowledge Management -KM)   คือ  การนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว   เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
           การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่ หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง   จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ การประเมินความสำเร็จขององค์การ  จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย
ปัจจัยความอยู่รอดขององค์การ
 - ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
 - นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
 - ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
 - ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์การ
 - ผู้นำองค์การ
            ผู้นำองค์การ  มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน   แต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี  คือ  วิสัยทัศน์  ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย   และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า       
ประเภทของความรู้  มี  2 อย่าง  คือ

1.    ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit  Knowledge )  คือ  ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม  เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์  สังเคราะห์  ผ่านกระบวนการพิสูจน์  กระบวนการวิจัย  จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง
 2.    ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน  (Tacit  Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด  เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน   การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ   กลายเป็นความชำนาญ   เชี่ยวชาญ  จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล  เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ   ปฏิภาณไหวพริบ  เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล

สรุป
หลักการจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
       1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
      2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

  อ้างอิง
http://www.navy.mi.th/frigate1/index/index.php  เข้าถึงเมื่อวันที่   24  ก.ค. 56
http://kmi.or.th  เข้าถึงเมื่อวันที่   24  ก.ค. 56
            http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php   เข้าถึงเมื่อวันที่   24  ก.ค. 56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น